วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

แบบบ้านทรงปั้นหยาราคาถูก งบประมาณเพียง 450,000 บาท

30 ต.ค. 2022
537

วันนี้เราจากพาไปดู แบบบ้านทรงปั้นหยาราคาถูก งบประมาณเพียง 450,000 บาทชั้นเดียวหลังนี้ เป็น แบบบ้านราคาสุดประหยัดออกแบบให้มีความกะทัดรัดเรียบง่ายและน่าอยู่อาศัย โดยบ้านหลังนี้เป็นของคุณ Theep Theep เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลยค่ะ

แบบบ้านทรงปั้นหยาราคาถูก  งบประมาณเพียง 450,000 บาท

แบบบ้านทรงปั้นหยาราคาถูก

ลักษณะบ้านชั้นเดียวร่วมสมัยยกสูงพอประาณ หลังคาเป็นแบบทรงปั้นหยาง ผนังภายนอกเลือกใช้โทนสีน้ำตาลอ่อนผสมฐานเข้ม โดดเด่นด้วยการตกแต่งเสาหน้าบ้านสีน้ำตาลเข้ม นอกจากนี้บริเวณด้านหน้าบ้านมีพื้นที่สามารถพักผ่อนได้ด้านประตูทางเข้าบ้านออกแบบเป็นแบบบานคู่

แบบบ้านทรงปั้นหยาราคาถูก

รอบๆบ้านออกแบบให้มีหน้าต่างรอบตัวบ้านเพื่อช่วยให้อากาศสามารถถ่ายเทได้อย่างดี โดยมองภาพรวมเป็นบ้านที่น่าอยู่เป็นอย่างมาก

แบบบ้านทรงปั้นหยาราคาถูก

ในด้านการตกแต่งภายใน แต่งแต้มด้วยสีขาวบริเวณห้องโถง รับกับพื้นกระเบื้องแกรนิตโต้สีบอล มีการตัดขอบด้วยสีน้ำตาลเข้ม ด้านเพดานสีขาวมาพร้อมไฟซาลาเปา พร้อมจัดแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นสัดส่วน

แบบบ้านทรงปั้นหยาราคาถูก

แบบบ้านร่วมสมัย ทรงปั้นหยา มีขนาด 90ตรม. มี 2ห้องนอน 1ห้องน้ำ 1 ห้องโถง ในงบ 450,000 สำหรับท่านไหนสนใจข้อมูลสามารถสอบถามได้ที่ FB Theep Theep

เกร็ดความรู้แบบบ้านทรงปั้นหยา

แบบบ้านทรงปั้นหยา คือ แบบบ้านที่สามารถพบได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย เนื่องจากเป็นแบบบ้านที่ปรับปรุงข้อเสียของหลังคาแบบหน้าจั่ว จนมาเป็นหลังคาที่มีด้านลาดเอียงทั้งหมด 4 ด้าน หรือที่เรียกว่าหลังคาทรงปั้นหยา ทำให้สามารถป้องกันแดดและฝนได้ครอบคลุมครบทุกด้านกว่าที่เคยเป็น แบบบ้านทรงปั้นหยา จึงมีความมั่นคง แข็งแรง ทนพายุ และทนฝน เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย โดยแบบบ้านทรงปั้นหยานั้นสามารถเข้าได้กับบ้านหลากสไตล์ ไม่ว่าจะเป็นร่วมสมัย โมเดิร์น หรือไทยประยุกต์ เพราะแบบบ้านทรงปั้นหยาถูกพัฒนาขึ้นให้รูปทรงไม่ดูเก่าและล้าสมัยสำหรับข้อดีข้อเสียแบบบ้านทรงปั้นหยาคือ

  • ข้อดี ตัวบ้านจะมีความแข็งแรงกว่าแบบอื่น ๆ ด้วยคุณลักษณะที่โครงสร้างทุกด้านวิ่งมาบรรจบกันบนยอดหลังคา ทำให้เกิดความมั่นคง สามารถรับลมและฝนได้จากทุกทิศทาง รวมถึงเข้ากันได้กับตัวบ้านหลากหลายสไตล์
  • ข้อเสีบ ถึงแม้จะรับลมเข้ามามาก การระบายอากาศทำได้ไม่ดีเท่าหลังคาแบบอื่น แต่สามารถแก้ปัญหาด้วยการติดแผ่นฝ้าชายคาที่มีรูระบายอากาศ ซึ่งต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญในการติดตั้ง เพื่อให้มวลอากาศร้อนใต้หลังคาสามารถระบายออกไป

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลที่ทางเรานำมาฝากหวังว่าท่านจะได้รับความรู้จากบทความนี้ นอกจากนี้เรายังมีอีกหลายๆบทความที่จะมาแนะนำให้ท่านอีกมากมายผ่านทางเว็บไซต์ sabuynews.com

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปจาก FB Theep Theep

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า