วันพฤหัสบดี, 5 กันยายน 2567

ฟุตบอลโลก 2022 กับดราม่าที่เกิดขึ้น

21 พ.ย. 2022
407

เปิดม่านระเบิดแข้งไปแล้วในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมาสำหรับมหกรรม ฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าจะมาเป็น ฟุตบอลโลก ในครั้งนี้บอกเลยว่าไม่ธรรมดาจริงๆมีเรื่องดราม่าเกิดขึ้นมากมายที่กาตาร์ ทั้งการเสียชีวิตของคนงานในการสร้างสนามฟุตบอลกว่าพันคน หรือ การคอร์รัปชันครั้งใหญ่ที่สุดในโลกลูกหนังโดยวันนี้ทาง sabuynews.com จะมารวมดราม่า ฟุตบอลโลก 2022 ว่าที่ผ่านมานั้นมีเรื่องอะไรบ้าง


ตารางถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 


ฟุตบอลโลก 2022 กับดราม่าที่เกิดขึ้น

ฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลโลกที่คร่าชีวิตแรงงานเยอะที่สุดในประวัติศาสตร์

ฟุตบอลโลก

จากเหตุการณ์เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 64 ที่สื่อรายใหญ่จากอังกฤษอย่าง เดอะ การ์เดียน รายงานว่า นับตั้งแต่กาตาร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าภาพการจัด ฟุตบอลโลก 2022 ได้มีแรงงานต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพครั้งนี้เสียชีวิต  โดยตัวเลขอ้างอิงจากทางการกาตาร์ ระบุว่าในจำนวนแรงงานจากเอเชียใต้กว่า 6,500 คนที่เสียชีวิตไปในช่วงเกือบ ๆ ทศวรรษที่ผ่านมานั้น แบ่งเป็นแรงงานจากอินเดีย 2,711 คน จากเนปาล 1,641 คน จากบังคลาเทศ 1,018 คน จากปากีสถาน 824 คน และจากศรีลังกา 557 คน โดยการสำรวจดังกล่าวยังไม่รวมแรงงานจากภูมิภาคอื่น อาทิแรงงานจากทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะจากประเทศเคนยา รวมถึงภูมิภาคอื่นของเอเชีย อาทิแรงงานฟิลิปปินส์ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมหาศาลเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ทางการกาตาร์ ระบุว่าจำนวนแรงงานที่เสียชีวิตดังกล่าว ถือเป็นสัดส่วนที่ปกติ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปละจำนวนแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศ

นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่าเท่าที่สามารถสำรวจได้นั้น มี 37 คนที่เสียชีวิตในขณะปฏิบัติงานในการก่อสร้างสนามใหม่ทั้ง 7 แห่งที่เจ้าภาพเตรียมไว้สำหรับจัดศึก ฟุตบอลโลก 2022 โดยตรง ขณะที่ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานที่ทำงานในโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับฟุตบอลโลก ขณะที่สาเหตุของการเสียชีวิตนั้น มีตั้งแต่การถูกของแข็งกระแทก การขาดอากาศหายใจ ไปจนถึงการถูกแขวนคอ แต่สาเหตุส่วนใหญ่ที่ถูกระบุในเอกสารอย่างเป็นทางการ นั้น คือการเสียชีวิตจากสาเหตุธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจล้มเหลว หรือสาเหตุที่มาจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดของประเทศกาตาร์   ทั้งนี้ กาตาร์ รวมถึงอีกหลาย ๆ ประเทศในตะวันออกกลาง ถือเป็นประเทศที่พึ่งพาแรงงานต่างชาติเป็นหลัก โดยในจำนวนประชากร 2.6 ล้านคนนั้น มีคนที่มีสัญชาติกาตาร์แค่ราวๆ 313,000 คนเท่านั้น ส่วนอีก 2.3 ล้านคนเป็นแรงงานต่างชาติ โดยก่อนหน้านี้ ประเทศจากดินแดนตะวันออกกลางแห่งนี้ มักจะถูกตั้งข้อสงสัยเรื่องการปฏิบัติต่อแรงงานต่างชาติ รวมถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนมาอย่างต่อเนื่อง

ฟุตบอลโลก 2022 คือการคอร์รัปชันครั้งใหญ่

ฟุตบอลโลก

สำหรับเบื้องหลังของการจัด ฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ นั้นมีจุดเริ่มต้นเรื่องความไม่โปร่งใสมาตั้งแต่การโหวตเลือกประเทศเจ้าภาพตั้งแต่ปี 2010 โดยการคัดเลือกเจ้าภาพ 2022 มีประเทศที่เข้าคัดเลือกคือ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น กาตาร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ ในเวลานั้นออสเตรเลียถือว่าเป็นตัวเลือกเจ้าภาพที่มาแรงของปี 2018 เพราะมีความพร้อมหลายประการที่มากกว่า ทว่าด้วยกฏ Rotation policy ทำให้หัวหน้าสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชียมองว่าการแข่งขันปี 2018 ควรจัดขึ้นในยุโรป ออสเตรเลียจึงถอนตัวจากคัดเลือก 2018 มาลงชิง 2022 แทน

ในการชิงเจ้าภาพ 2022 ตัวเลือกสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียถือว่าเป็นตัวเก็ง ด้วยศักยภาพและความพร้อมหลายประการ ขณะที่กาตาร์พยายามโชว์แนวคิดว่าหากเลือกกาตาร์ จะถือเป็นมิติใหม่ของฟีฟ่าและถือเป็นชาติแรกของอาหรับที่ได้จัดบอลโลก ท่ามกลางข้อเคลือบแคลงมากมายถึงความพร้อมของสถานที่ ตลอดจนสภาพอากาศอันร้อนระอุ ในแง่อิทธิพลทางเศรษฐกิจ กาตาร์ถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญในอาหรับสำหรับบรรดามหาอำนาจตะวันตก Qatar Investment Authority หรือหน่วยงานด้านการลงทุนของรัฐบาลกาตาร์ เป็นเจ้าของห้างหรู Harrods ตึงสูง the Shard ใจกลางกรุงลอนดอน ตลอดจนอยู่ในกลุ่มการลงทุนจำนวนของอังกฤษ อีกทั้งเป็นหนึ่งในผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติรายสำคัญต่อสหราชอาณาจักร แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้คะแนนโหวตให้กับกาตาร์ด้วยคะแนนเสียงโหวต 14 ต่อ 8 ที่เรียกได้ว่าคะแนนห่างกันมากพอสมควร บรรดาผู้แทนของชาติที่ลงชิงเป็นเจ้าภาพต่างตกในสภาวะงงงวย ส่วนกาตาร์ซึ่งกำลังยินดีปรีดา ก็ให้คำมั่นสัญญาว่า การฟุตบอลโลกในตะวันออกกลางครั้งแรกนี้จะเป็นทัวร์นาเมนต์ที่น่าตื่นเต้นและแปลกใหม่ จัดงานที่จะต้อนรับทุกคน ส่งเสริมกีฬา สร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชน กระตุ้นการท่องเที่ยว กระจายเศรษฐกิจของประเทศ และส่งเสริมความยั่งยืน และด้วยความตึงเครียดในภูมิภาคที่ผ่อนคลายลงบางส่วนจากการฟื้นสัมพันธ์ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์จึงมีความหวังว่ากาตาร์จะสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงการรวมพลังเป็นหนึ่งเดียว แต่ไม่นานที่กาตาร์ได้รับเลือก ก็เกิดเสียงวิจาณ์ทันทีถึงความเหมาะสมว่ารัฐทะเลทรายเล็กๆ แห่งนี้ ซึ่งไม่มีประวัติศาสตร์ในฟุตบอลโลกและอุณหภูมิฤดูร้อนที่แผดเผา คว้าชัยชนะได้อย่างไร ข้อกล่าวหาเรื่องการคอร์รัปชัน การแลกคะแนนเสียง และการเชื่อมโยงกับข้อตกลงทางการค้าในระดับสูงสุดของรัฐบาล ฝ่ายกาตาร์ปฏิเสธมาโดยตลอดและยังไม่ได้รับการพิสูจน์อย่างชัดเจนจนถึงตอนนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดและฉาวสะเทือนโลกคือกรณี คดีทุจริตฟีฟ่าปี 2015

ฟุตบอลโลกที่แบ่งแยกผู้คนและต่อต้าน LGBTQ+

ฟุตบอลโลก

ถึงแม้ว่าปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีการยอมรับบุคคลหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ+ มากขึ้น แต่ไม่ใช่ที่กาตาร์ซึ่งเป็นรัฐอิสลาม ที่ยังไม่ยอมรับความหลากหลายทางเพศ LGBTQ+ ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่าจากเจ้าภาพจะยืนยันว่ายินดีต้อนรับแฟนฟุตบอลทุกเพศจากทั่วโลก ทำให้เกิดความกังวลให้แก่แฟนฟุตบอลจำนวนมากที่ไม่กล้าเดินทางมาเยือนกาตาร์ เพราะไม่มีใครกล้ารับประกันได้ว่าเมื่อมาถึงแล้วพวกเขาจะต้องเผชิญกับอะไร จะมีใครรับประกันความปลอดภัยให้แก่พวกเขาได้หรือไม่ และจะเกิดอะไรขึ้นหากพวกเขาถูกจับกุมทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำอะไรผิดเลยนอกจากแค่เป็นตัวของตัวเอง นอกจากนี้ถึงแม้ว่าประเทศ กาตาร์ จะออกมาประกาศว่ายินดีต้อนรับแฟนบอลทุกคนโดยไม่จำกัดเพศ ศาสนา และเชื้อชาติ แต่ก็ยังประกาศขอความร่วมมือเรื่องการเคารพวัฒนธรรมของกาตาร์ ด้วยการงดแสดงความรักในที่สาธารณะรวมถึงการห้ามชูธงสีรุ้ง เพื่อความปลอดภัยของแฟนบอล เนื่องจากอาจมีคนไม่พอใจแล้วโดนทำร้ายร่างกายได้ ทำให้ฟุตบอลโลกครั้งนี้จึงเป็นฟุตบอลโลกที่แบ่งแยกผู้คนจากกันทั้งที่ๆ มันเป็นยุคสมัย Diversity แล้ว

ฟุตบอลโลกที่ห้ามขายเหล้าเบียร์ในสนามแข่งขัน

ฟุตบอลโลก

การดื่มเหล้าเบียร์ขณะชมการแข่งขันฟุตบอลเป็นเรื่องปกติที่นิยมทำกันในหลายๆ ประเทศทั่วโลก แต่ไม่ใช่ที่ กาตาร์ เนื่องจากเป็นรัฐอิสลาม ซึ่งมีกฎหมายบังคับเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะมีโทษจำคุกสูงสุดเป็นเวลาหกเดือน หรือปรับเป็นเงิน 3,000 ริยัลกาตาร์ หรือเกือบ 30,000 บาทไทย ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ทาง ประเทศกาตาร์ จะบอกว่าดื่มได้แต่สุดท้าย ก็ขอยกเลิกการขายเบียร์ ซึ่งเดิมวางเงื่อนไขไว้ว่าจะขายก่อนการแข่งขัน 3 ชม. และหลังการแข่งขัน 1 ชม. นอกสนามแข่งขัน โดยมีรายงานข่าวว่า ราชวงศ์กาตาร์ แสดงความไม่พอใจกับสถานการณ์หลังเปิดให้มีการขายเครื่องดื่มมึนเมาในประเทศมุสลิม โดยการตัดสินใจตามใจ กาตาร์ ครั้งนี้ทำให้ ฟีฟ่า ต้องสูญรายไดจากสัญญากับผู้สนับสนุนหลักอย่าง บัดไวเซอร์ ผู้ผลิตเบียร์สัญชาติอเมริกัน 40 ล้านเหรียญสหรัฐไปทันที และอาจจะสูงถึง 55 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว ขณะเดียวกับ บัดไวเซอร์ ได้โพสต์ภาพ เบียร์ในคลังสินค้าจำนวนมาก โดยจะยกเบียร์ทั้งหมดให้กับ ประเทศ ที่ได้แชมป์ ฟุตบอลโลก 2022 ครั้งนี้ไปเลย

ฟุตบอลโลก 2022 ที่ห้ามแฟนบอลมั่วเซ็กซ์

ฟุตบอลโลก

กาตาร์ เตือน แฟนบอลห้ามมีเพศสัมพันธ์ทางเพศแบบชั่วข้ามคืน หรือ วัน ไนต์ สแตนด์ ในศึกฟุตบอลโลก 2022 โดยหากฝ่าฝืนอาจโดนโทษจำคุกสูงสุดถึง 7 ปี โดยความสัมพันธ์ทางเพศแบบนอกสมรส, ความสัมสัมพันธ์ทางเพศแบบชั่วข้ามคืน และรักร่วมเพศ เป็นสิ่งผิดกฎหมายของประเทศกาตาร์ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม เสริมจาก เดลี สตาร์ สิ่งต้องห้ามในฟุตบอลโลก 2022 อีกอย่างคือ เซ็กซ์ แบบชั่วข้ามคืน หรือ วัน ไนต์ สแตนด์  ในระหว่างวันที่ 21 พ.ย.-18 ธ.ค.นี้ ซึ่งหากแฟนบอล หรือนักท่องเที่ยวคนใดฝ่าฝืนพวกเขาอาจจะต้องโทษจำคุกสูงสุดถึง 7 ปี สาเหตุคือเซ็กซ์อยู่นอกเหนือรายการ เว้นแต่คุณจะมาในฐานะสามีภรรยา และจะไม่มี วัน ไนท์ สแตนด์ ในทัวร์นาเมนต์นี้ รวมถึงไม่มีปาร์ตี้ใดๆ ทุกคนต้องยอมรับสิ่งนี้ เว้นแต่พวกเขาต้องการเสี่ยงโดยจำคุก โดยพื้นฐานแล้วนี่จะเป็นครั้งแรกที่ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในฟุตบอลโลก แฟนๆ จะต้องเตรียมพร้อม

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลที่ทางเรานำมาฝากหวังว่าท่านจะได้รับความรู้จากบทความนี้ นอกจากนี้เรายังมีอีกหลายๆบทความที่จะมาแนะนำให้ท่านอีกมากมายผ่านทางเว็บไซต์ sabuynews.com

บทความแนะนำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า