วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

PM 2.5 อันตรายขนาดไหน มีความเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง

10 มี.ค. 2023
270

เนื่องจากสถานการณ์ในเวลานี้เกิดฝุ่น PM2.5 เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพและหัวเมืองใหญ่ๆในประเทศไทยดังนั้นวันนี้ทาง sabuynews จะมาทำความเข้าใจกับเจ้าฝุ่น  PM 2.5 อันตรายขนาดไหน และมีความเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง…

PM 2.5 อันตรายขนาดไหน มีความเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง

PM 2.5 อันตรายขนาดไหน

ฝุ่น PM2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนหรือมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์ถึง 25 เท่า ซึ่งถือว่าเป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล้กมาก สาเหตุหลักของการเกิดฝุ่น PM.2.5 คือละเอองที่เกิดจากการเผาไหม้ทุกชนิด ทั้งจากการตั้งใจเผาวัตถุต่างๆ โดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ขยะ หรือฝุ่นละอองที่เกิดจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง ด้วยอานุภาคขนาดเล็กมากๆ ของฝุ่นละเออง PM2.5 นี้ ทำให้หลายคนตั้งคำถาม ต่อผลกระทบต่อสุขภาพ ถ้ามีการสูดดมเข้าไปในปริมาณมากๆ

ฝุ่น PM2.5 มาพร้อมกับโรคอะไรบ้าง

PM 2.5 อันตรายขนาดไหน

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น โรคภูมิแพ้ หรือในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ที่ภูมิคุ้มกันไม่ค่อยแข็งแรง หรือแม้แต่ในคนทั่วไปที่ร่างกายแข็งแรงดี ก็อาจสะสมจนก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ในบางรายอาจร้ายแรงจนถึงขั้นก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้เช่นกัน เพราะฝุ่นละออง PM 2.5 หลังจากถูกสูดดมเข้าสู่ระบทาง้เดินหายใจ จะเดินทางเข้าสู่ปอด และส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจทั้งหมด รวมไปถึงระบบหลอดเลือดหัวใจได้ด้วยเช่นกัน โดยสรุปแล้ว ฝุ่น PM 2.5 สามารถก่อโรคได้หลายโรค เช่น

  • โรคเกี่ยวกับระบบผิวหนัง ผื่นคัน ผื่นแพ้, ลมพิษ, ทำให้ผิวหน้าเหี่ยวย่น หรือทำให้เกิดเกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้ม
  • โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ฝุ่น PM 2.5 สามารถกระตุ้นอาการภูมิแพ้ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง และสามารถทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจเรื้อรัง และหรือมีโอกาสป่วยเป็นมะเร็งปอดได้
  • ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการสติปัญญาทางสมองของเด็กเล็ก
  • ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ในกรณีที่แม่ตั้งครรภ์สูดดมฝุ่น PM 2.5 ไปมากๆ อาจส่งผลต่อความสมบูรณ์ของทารก อาจทำให้ลูกที่คลอดออกมากลายเป็นเด็กที่เติบโตช้าได้
  • โรคเรื้อรังอื่นๆ เช่นโณคเกี่ยวกับหลอดเลือด อาการที่เกิดขึ้นกับดวงตา

ฝุ่น PM 2.5 วิธีป้องกัน

PM 2.5 อันตรายขนาดไหน

ฝุ่น PM 2.5 อาจจะฟังดูน่ากลัว แต่เราสามารถป้องกันเบื้องต้นได้ โดยการสวมใส่หน้ากากอนามัย N95 ที่ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้มากถึง 95%  นอกจากนี้ยังมีแนวทางปฏิบัติเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตท่ามกลาง ฝุ่น PM 2.5 ได้โดยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น หลีกเลี่ยงการออกไปเผชิญกับฝุ่นในที่โล่งโดยตรง โดยที่ทำงานอาจกำหนดนโยบายการทำงานให้เป็นการทำงานแบบ Work From Home ในวันที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือลดการเผาไหม้ทั้งของเครื่องยนต์ เช่นลดการใช้รถยนต์ที่มีควันดำ งดกำจัดขยะด้วยการเผา ทำความสะอาดบ้านบ่อยๆ ลดการเกิดฝุ่นสะสม ป้องกันฝุ่นเข้าบ้านด้วยการปิดประตูหน้าต่าง เลือกเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ภายในบ้านด้วยการปลูกต้นไม้กรองอากาศ หรือติดตั้งเครื่องกรองอากาศเป็นต้น

ถ้าจำเป็นต้องออกจากบ้านหรือไปในที่โล่งแจ้ง ควรสวมหน้ากากอนามัยชนิดที่ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้เสมอ หมั่นจิบน้ำบ่อยๆ ลดอาการคอแห้ง ระคายเคืองในลำคอ พยายามสวมใส่เสื้อผ้ามิดชิดเพื่อป้องกันฝุ่น ก็จะช่วยลดอันตรายต่อสุขภาพที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5 ได้

ฝุ่น PM 2.5 ควรเลือกหน้ากากอนามัยแบบไหนเพื่อป้องกัน

PM 2.5 อันตรายขนาดไหน

  1. หน้ากาก N95 สำหรับแบบไม่มีวาล์ว เป็นหน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ถึง 95% เพราะออกแบบมาเพื่อป้องกันฝุ่นละอองโดยเฉพาะ
  2. หน้ากากอนามัยทั่วไปป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ 66.37% ควรเลือกเป็นหน้ากากอนามัยที่มีวัสดุกรอง 3 ชั้น
  3. หน้ากากอนามัยจากผ้า Cotton หรือผ้าฝ้าย ป้องกัน PM 2.5 ได้ 55.70% ควรเลือกชนิดนี่ทบกันอย่างน้อย 3 ชั้น หรือมีความหนาตั้งแต่ 0.5 มิลลิเมตรขึ้นไป

ฝุ่น PM 2.5 มีอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ จึงมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อเฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 ขึ้นมาหลายแอปพลิเคชั่น ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อพวกเราที่ใช้ชีวิตกับฝุ่น PM 2.5 ในทุกวัน เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันตัว Sabuynews ได้รวมแอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับการตรวจจับสภาพอากาศมาให้ท่านได้เลือกใช้

  • แอปพลิเคชัน AirBKK
  • www.airbkk.com
  • www.pr-bangkok.com
  • FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
  • FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
  • FB: กรุงเทพมหานคร
  • LINE ALERT
  • LINE OA @airbangkok

นอกจากนี้ยังสามารถสอบถามเกี่ยวกับโรคจากฝุ่น PM 2.5 ได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า