สำหรับการจัดทำรายงานนั้นท่านไหนที่เคยเรียนหนังสือมาโดยปกติแทบทุกๆคนคงจะต้องเคยผ่านการเขียนรายงานมาไม่มากก็น้อย แต่จะมีสักกี่ท่านที่มีการทำรายงานที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนั้นวันนี้ทาง sabuynews จะขอมารวบรวมเพื่อที่จะทำให้ท่านผู้อ่านได้ เรียนรู้แนวทางวิธีเขียน รายงาน อย่างมีคุณภาพ สำหรับผู้เริ่มต้นหรือผู้ที่เคยผ่านการทำรายงานมาแล้วก็ตาม เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย…
ตัวอย่างแบบฟอร์ม ใบเสนอราคา พร้อมขั้นตอนการทำแบบง่าย
แนวทางวิธีเขียน รายงาน อย่างมีคุณภาพ
สำหรับเกร็ดความรู้เรื่องเบี้องต้นสำหรับ การเขียนรายงานอย่างไร ให้ครบถ้วนสมบูรณ์นอกจากการรู้จักองค์ประกอบของรายงานจริงๆว่าในรายงาน 1 เล่ม จะต้องมีอะไรบ้างถึงจะเรียกได้ส่งเป็นรายงานที่ถ้วนสมบูรณ์แบบ จนสามารถเรียกคะแนนจากอาจารย์หรือนายจ้างได้อย่างมาก โดยท่านจะต้องมีการจัดวางรูปแบบและโครงสร้างของบทความให้ถูกต้อง ซึ่งการเขียนรายงานที่ถูกต้องควรมีรูปแบบ ดังนี้
- ปกใส (กระดาษใส ขนาด A4 ปกป้องการเปียกน้ำ หรือเลอะสิ่งสกปรก)
- ปกนอก
- หน้ารองปก (กระดาษเปล่า)
- หน้าปกใน (รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว)
- คำนำ
- สารบัญ
- เนื้อเรื่อง โดยประกอบด้วย บทนำ ส่วนเนื้อหา บทสรุป
- บรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง
- ภาคผนวก
- รองปกหลัง (กระดาษเปล่า)
- ปกใน รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว
- ปกใส เหมือนด้านหนัา
สำหรับการตั้งค่าระยะห่างขอบกระดาษ A4 ให้ตั้งค่ารายงานดังนี้
- ซ้าย เท่ากับ 1.5 นิ้ว
- ขวา 1 นิ้ว
- บน 1.5 นิ้ว
- ล่าง 1 นิ้ว
1 นิ้ว = 2.54 เซนติเมตร
ตัวอย่างปกนอก
- ชื่อเรื่องรายงาน โดยให้อยู่กึ่งกลางกระดาษพอดี ใช้ขนาดอักษร 26 ตัวหนา
- ชื่อ – นามสกุลของผู้ทำรายงาน อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ แต่ถ้าเป็นรายงานกลุ่ม ก็ให้น้องๆ ใส่ชื่อทุกคน โดยเรียงลำดับตามตัวอักษร ใช้ขนาดอักษร 22
- ชั้น – เลขที่ เช่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ … ห้อง เลขที่ ใช้ขนาดอักษร 22
- เสนอรายงาน ชื่ออาจารย์ ใช้ขนาดอักษร 22
- ชื่อรายวิชา ชื่อโรงเรียน หรือสถาบัน ภาคการศึกษา ปีการศึกษา ใช้ขนาดอักษร 20
ตัวอย่างคำนำ
ให้ท่านเล่าถึงวัตถุประสงค์ ทำขึ้นเพื่ออะไร รายงานเล่มนี้มีความสำคัญอย่างไรบ้าง และขอบเขตของเนื้อหา หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านอย่างไร และไม่ควรเขียนยาวหรือสั้นเกินไป โดยส่วนนี้ให้พิมพ์คำว่า “คำนำ” ด้วยอักษรขนาดใหญ่ ไว้กลางหน้ากระดาษ เว้นระยะให้ห่างจากขอบบน 2 นิ้ว เมื่อจบข้อความให้ ลงชื่อ และ นามสกุลของผู้เขียน ลงท้ายด้วยคำว่า “ผู้จัดทำ” และวันที่แบบย่อ เช่น 1 ม.ค. 2562
ตัวอย่างสารบัญ
ขึ้นต้นด้วยด้วยคำว่า “สารบัญ” ด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่กลางหน้ากระดาษโดยเว้นห่างจากขอบบนลงมา 2 นิ้ว ถัดลงมาด้านซ้ายใส่เป็นชื่อเรื่อง/หัวข้อใหญ่ ส่วนด้านขวาเป็นหน้า ไว้สำหรับบอกเลขหน้าที่ตรงกับเนื้อหา
ตัวอย่างเนื้อหา
ควรเริ่มต้นเรื่องด้วย บทนำ (Introduction) เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในรายงาน ชี้แจงให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของเนื้อเรื่องที่ได้ค้นคว้ามา ต่อด้วย ส่วนเนื้อหา (Body of Paper) อาจจะแบ่งเป็นตอน โดยเน้นประเด็นหลักๆ ที่สำคัญ เพื่อให้เข้าใจประเด็นได้ง่าย ต่อเนื่อง และสอดคล้องกัน และสุดท้าย บทสรุปหรือสรุป (Conclusion) ให้เขียนสรุปประเด็นสำคัญจากการค้นคว้ามาทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร
ตัวอย่างบรรณานุกรม
บอกถึงที่มาของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าทุกชนิด ทั้งหนังสือ อินเตอร์เน็ต เอกสาร ข่าว ฯลฯ ซึ่งการเขียนบรรณานุกรมต้องเขียนให้มีแบบแผนชัดเจน ตามรูปแบบการอ้างอิงบรรณานุกรมแบบต่างๆ เช่น
หนังสือภาษาไทย
- ผู้แต่ง. / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / สถานที่พิมพ์ / : / สำนักพิมพ์, / / ปีพิมพ์.
หนังสือแปล - ผู้แต่ง. / / ชื่อเรื่อง. / / แปลโดย ชื่อผู้แปล. / / สถานที่พิมพ์ / : / สำนักพิมพ์, / / ปีพิมพ์.
สุดท้ายภาคผนวก
สำหรับภาคผนวก ภาคผนวกคือ ส่วนที่เพิ่มเติมจากรายงานเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีขึ้น เช่น สถิติ รูปภาพ แบบสอบถาม
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับสาระความรู้ที่ทาง sabuynews นำมาฝากกันหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้อ่านกันนอกจากนี้เรายังมีอีกหลายๆบทความที่จะมาแนะนำให้ท่านอีกมากมายผ่านทางเว็บไซต์ sabuynews.com