วันพฤหัสบดี, 28 มีนาคม 2567

วิธีจดทะเบียนสมรส ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

13 ก.พ. 2023
321

เนื่องจาก 14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์เป็นวันแห่งความรักที่คู่รักมักนิยมเลือกใช้เป็นวันจดทะเบียนสมรส ดังนั้นวันนี้ทาง sabuynews จะมาแนะนำ วิธีจดทะเบียนสมรส ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง เพื่อเริ่มต้นชีวิตคู่โดยการเปลี่ยนสถานะจากคู่รักเป็นคู่สามี-ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย

วิธีจดทะเบียนสมรส ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

วิธีจดทะเบียนสมรส

สำหรับการจดทะเบียนสมรสนั้นท่านสามารถเดินทางไปได้ด้วยตัวเองที่สำนักทะเบียนแต่ละแห่ง เพื่อทำการ จดทะเบียนสมรส สำหรับการเริ่มต้นชีวิตคู่โดยการเปลี่ยนสถานะจากคู่รักเป็นคู่สามี-ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก่อนที่ท่านจะทำการจดทะเบียนสมรส ได้ท่านจะต้องผ่านคุณสมบัติผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส ก่อนดังต่อไปนี้

  1. ชายหรือหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ กรณีมีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนที่ชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้ฃ
  2. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
  3. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
  4. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  5. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  6. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน (เว้นแต่ คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น สมรสกับคู่สมรสเดิม มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ และศาลมีคำสั่งให้สมรสได้)

ทั้งนี้ คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขต และสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศใด ๆ ก็ได้ ไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส

วิธีจดทะเบียนสมรส

  • บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้สำหรับบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวตามกฎหมาย
  • สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
  • หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน

ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส

  • การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของ คู่สมรส
  • คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
  • คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
  • พยานบุคคลจำนวน 2 คน
  • คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคล จากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง การแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต

ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ

  • การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ – ส่ง นายทะเบียน การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างใกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส

วิธีจดทะเบียนสมรส

รับเรื่อง : ผู้ร้องแจ้งความประสงค์ต่อนายทะเบียน

  1. โดยลงชื่อในคำร้องตามแบบคร.1 ที่นายทะเบียนเป็นผู้บันทึกข้อความ และจัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้ * กฏกระทรวงฯ พ.ศ. 2478 ข้อ 3 *ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ 2541 ข้อ 6,8

ตรวจสอบหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการอกให้สำหรับบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย
  4. ผู้มีอำนาจให้ความยินยอม (กรณีผุ้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้มีอำนาจให้ความยินยอมมาด้วยตนเอง
  5. ผู้ร้องขอเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนหรือไม่ หากหย่าแล้วต้องตรวจ สอบหลักฐานการหย่า หรือคู่สมรสตาย ให้ตรวจสอบหลักฐานการตาย
  6. คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลที่ให้จดทะเบียน (กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล)
  7. พยานอย่างน้อย 2 คน * ป.พ.พ. ม.1436,1448,1453,1454,1455,1456 * พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 ม.4, 11,12 * ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ 2541 ข้อ 8,13 (1)

นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ร้องทั้งสองฝ่าย ดังนี้

  1. ชายหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์
  2. ชายหญิงไม่เป็นคนวิกลจริตฯ
  3. ชายหญิงไม่เป็นญาติสืบสายโลหิต
  4. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
  5. ชายหรือหญิงจะสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสกันไม่ได้
  6. หญิงหม้าย (ที่เข้าเงื่อนไข)
  7. ชายหญิงยินยอมป็นสามีภรรยากันโดยเปิดเผย * ป.พ.พ. ม.1448 – 1458 ดังนี้ * ระเบียน มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 13 (2)

ผู้มีอำนาจในการจะทะเบียน

  1. นายทะเบียน (นายอำเภอ/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ/อำนวยการเขต/หรือผู้รักษาราชการแทน) * พ.ร.บ.จดทะเบียนครองครัว พ.ศ.2478 ม.3 * กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2499) ข้อ 2 * นส.ด่วนมากที่ มท.ช 0402/ว 1411 ลว.3 ธ.ค.30

ลงรายการในทะเบียนด้วยวิธีการ ดังนี้

  1. พิมพ์ข้อความ ลงในทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3) หากผู้ร้องทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้บันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือเรื่องอื่นให้นายทเบียนพิมพ์รายละเอียดนั้นไว้ในช่องบันทึก
  2. เมื่อพิมพ์ข้อความลงในทะเบียนสมรสแล้ว หากมีข้อผิดพลาดสามารถแก้ไขได้ทันที่ก่อนการสั่งพิมพ์ กรณีไม่มีการแก้ไขและ ได้สั่งพิมพ์แล้วจะไม่สามารถเรียกกลับมาแก้ไขได้อีกจะเป็นการป้องกันการแก้ไขหรือลบข้อมูลโดยมิชอบ
  3. เมื่อเห็นว่าถูกต้องให้สั่งพิมพ์ทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3)เพื่อให้ผู้ร้อง ผู้ให้ความยินยอม (ถ้ามี) และพยานลงลายมือชื่อในทะเบียนสมรส (คร.2) และนายทะเบียนลงลายมือชื่อในใบสำคัญการสมรส (คร.3)
  4. มอบใบสำคัญการสมรส (คร.3) ให้แก่คู่สมรสฝ่ายละหนึ่งฉบับ * ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 13 (3)

เมื่อได้รับจดทะเบียนหรือบันทึกไว้แล้ว ให้นายทะเบียนเก็บรักษา

  1. ทะเบียนไว้เป็นหลักฐานตลอดไป โดยการจัดเก็บเข้าแฟ้มเรียงลำดับตามเลขที่ทะเบียนโดยมิให้ทำลาย เพราะ เป็นเอกสารสำคัญทางกฎหมาย ซึ่งใช้ รับรองสิทธิต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง * ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 43,44

การขอแก้ไขเพิ่มเติมในทะเบียน (คร.2) ให้นายทะเบียนบันทึกใน

  1. ช่องบันทึกทะเบียน โดยมีรายละเอียดให้ทราบว่าใครเป็นผู้ร้องขอให้บันทึกเรื่องใด และให้ผู้ร้องและนายทะเบียน ลงชื่อไว้โดยไม่ต้อง แก้ไขรายการในทะเบียนเดิมให้ถือปฏิบัติตามระบบเดิม คือการบันทึกข้อความต่าง ๆ โดยการเขียน ด้วยมือในคำร้อง (คร.1) และทะเบียนสมรส (คร.2) แต่ต้องนำมาจัดเก็บข้อมูลการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวไว้ด้วยระบบ คอมพิวเตอร์อีกครั้งหนี่งในภายหลัง
    * กฎกระทรวง พ.ศ.2478 ข้อ 9 ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 38

การใช้นามสกุลของคู่สมรส

  1. ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างคู่สมรสให้ทางทะเบียนท้องที่บันทึกข้อตกลงของคู่สมรสว่าจะใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดโดยให้บันทึกต่อท้ายในแบบ คร.2

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลที่ทางเรานำมาฝากหวังว่าท่านจะได้รับความรู้จากบทความนี้ นอกจากนี้เรายังมีอีกหลายๆบทความที่จะมาแนะนำให้ท่านอีกมากมายผ่านทางเว็บไซต์ sabuynews.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า