สำหรับท่านที่มีเงินเดือนผ่านเกณฑ์ทุกๆท่านเป็นที่ทราบกันว่าท่านจะต้องทำการ การยื่นภาษี โดยปกติจะยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำ วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2566 ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร ก่อนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2566 โดยไปดูกันว่ามีขั้นตอนการยื่นภาษีอย่างไรบ้าง
วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2566 ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร
สำหรับการยื่นภาษีออนไลน์เป็นบริการของกรมสรรพากรที่ช่วยให้ผู้เสียภาษีประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยื่นแบบที่สรรพากรนั้นเอง โดคนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปีหรือท่านที่ได้รับเงินเกิน 10,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้นท่านผู้ที่มีเกณฑ์ต้องยื่นภาษีจึงต้องรวบรวมเอกสารจำเป็นให้ถูกต้องและครบถ้วน
หน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีใครบ้าง
สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
- บุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 1.แบบ ภ.ง.ด.90 คือ ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ 2. แบบ ภ.ง.ด.91 คือ ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
- วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
วิธีและขั้นตอนในการยื่นภาษีออนไลน์ 2566 สำหรับ ภ.ง.ด.90/91
เริ่มแรกให้ท่านเข้าสู่เว็บไซต์กรมสรรพากรหรือคลิกตามลิงก์นี้ https://efiling.rd.go.th/rd-cms หรือคลิกที่รูปด้านบน จากนั้นกด ยื่นแบบออนไลน์
จากนั้นทำการเข้าสู่ระบบ หากใครยังไม่เคยทำหรือยังไม่มีบัญชีให้ท่านกดไปที่ สมัครสมาชิก
จากนั้นให้ท่านกรอกเลขบัตรประชาชนของท่านในช่องที่ 2 และกดเครื่องหมายถูกที่ช่องที่ 3
จากนั้นระบบจะทำการแสดงข้อมูลผู้เสียภาษีตามข้อมูลหมาย 4 มาโดยอัตโนมัติ จากนั้นในช่องที่ 5 ให้ท่านทำการระบุ Email ของท่าน จากนั้นกดถัดไป
จากนั้นให้ท่านทำการขอรหัส OTP จากนั้นเมื่อท่านได้รหัสให้นำไปใส่จากนั้นกด ถัดไป
จากนั้นในช่องหมายเลข 9 ทำการตรวจสอบข้อมูลของท่านว่าถูกต้องหรือไม่หากข้อมูลไม่ถูกต้องท่านสามารถกดปุ่มย้อนกลับเพื่อไปแก้ไขได้ หากข้อมูลถูกต้องแล้วในช่องที่ 10 ให้ท่านกดเครื่องหมาย ติ๊กถูก จากนั้นในช่องที่ 11กด ยืนยันการลงทะเบียน ได้เลย
หากลงทะเบียนสำเร็จจะปรากฏข้อมูลตามรูปด้านบน โดยรูปในช่องที่ 12 เป็นการแสดงว่าท่านลงทะเบียนเสร็จแล้ว ส่วนช่องที่ 13 ท่านสามารถทำการ ดาวน์โหลดไฟล์ ภ.อ.01 ส่วนช่องที่ 14 เป็นการอธิบายแนวทางการยืนยันตัวตนผ่านช่องทางต่างๆ
เมื่อท่านทำการลงทะเบียนเสร็จแล้วให้ท่านทำการอัปโหลดเอกสาร ภ.อ.01 ตามช่องที่ 17 ได้เลย
เมื่อท่านทำการอัปโหลดเสร็จแล้วระบบจะแสดงข้อความตามรูปภาพด้านบน
ระบบจะทำการส่ง Email ให้ท่านไปทำการยืนยันตัวตนบน Email ของท่านด้วยตามหมายเลข 1 เพื่อกำหนดรหัสผ่าน
ทำการกำหนดรหัสผ่าน และยืนยันรหัสผ่านของท่าน เมื่อทำเสร็จแล้วให้ท่านทำการ บันทึก ได้เลย
หลังจากท่านกำหนดรหัสผ่านแล้ว ระบบจะทำการแสดงข้อมูลว่าท่าน กำหนดรหัสผ่านสำเร็จ จากนั้นกดไปที่หน้าเข้าระบบได้เลย
ทำการใส่ข้อมูลต่างให้เรียบร้องโดยช่องที่ 2 ใส่ชื่อผู้ใช้ตามที่ระบบ Email ส่งให้ ส่วนช่องที่ 3 ใส่รหัสจากที่ท่านกำหนดไปก่อนหน้านี้ ช่องที่ 4 เมื่อกรอกครบแล้วกดเข้าสู่ระบบได้เลย
ทำการกรอกข้อมูลผู้เสียภาษีให้ถูกต้อง
เลือกประเภทเงินได้ และค่าลดหย่อนการเสียภาษี ในกรณีที่เป็นมนุษย์เงินเดือนให้เลือกมาตรา 40 (1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง เป็นต้น ส่วนเงินที่ได้รับยกเว้นหรือค่าลดหย่อน มีให้เลือกทั้งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม, ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF, RMF หรืออุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ฯลฯ ตรวจสอบข้อมูลให้เรียบร้อยแล้วกดทำรายการต่อไป
กรอกรายการเงินเดือนค่าจ้างบำนาญต่างๆ โดยเอามาจาก “หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย” ตามมาตรา 50 ทวิกรอกในช่อง “บันทึกจำนวนเงินที่สะสมตลอดปี” ที่สำคัญต้องไม่ลืมเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ ส่วนคนที่เปลี่ยนงานหรือออกจากงานระหว่างปีให้ติดตามขอเอกสารของที่ทำงานเก่าและที่ทำงานใหม่เพื่อนำมายื่นภาษีรวมกันด้วย
บันทึกรายการค่าลดหย่อนที่เรามีทั้งหมดลงไปตามหัวข้อ
ตรวจสอบข้อมูลการคำนวณภาษี โดยระบบของกรมสรรพากรจะคำนวณให้อัตโนมัติ
หากข้อมูลทุกอย่างถูกต้องให้ทำการ “ยืนยัน” เพื่อยื่นแบบภาษี หลังจากที่ท่านกดยืนยันการจ่ายเงินหรือตรวจสอบการคืนภาษี และเลือกช่องทางทำธุรกรรมการเงินที่สะดวกที่สุด
กรณีที่ไม่มีภาษีต้องชำระ
- โปรแกรมจะแจ้งผลการรับแบบและหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฯ
- กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินให้ตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้
กรณีที่มีภาษีต้องชำระ
- หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่าน e-payment ระบุนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ และดำเนินการตามขั้นตอนของธนาคารนั้น
ช่องทางการยื่นภาษีเพิ่มเติม
- ท่านสามารถเดินทางไปยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
- ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax โดยการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรเป็นอันดับแรก จึงจะสามารถยื่นผ่านแอปพลิเคชันได้
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลที่ทางเรานำมาฝากหวังว่าท่านจะได้รับความรู้จากบทความนี้ นอกจากนี้เรายังมีอีกหลายๆบทความที่จะมาแนะนำให้ท่านอีกมากมายผ่านทางเว็บไซต์ sabuynews.com
บทความแนะนำ