มาดู วิธีเช็คสิทธิประกันสังคมแบบออนไลน์ สามารถตรวจสอบสิทธิประกันสังคมได้ทั้งผู้ประกัน ม.33 ม.39 ม.40 เพียงแค่ท่านใช้เลขบัตรประชาชน 13 หลักเท่านั้น โดยทาง sabuynews จะสอนท่านตั้งแต่เริ่มต้นสำหรับท่านที่ยังไม่เคยทำ จนสามารถสมัครสมาชิกระบบประกันสังคมเป็นอย่างแน่นอนเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย…
วิธีเช็คสิทธิประกันสังคมแบบออนไลน์
สำหรับท่านที่ต้องการทราบหรือตรวจสอบเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตลอดมาว่าเวลานี้เรามีจำนวนเท่าไหร่แล้ว หรือเงินที่แต่ละท่านจ่ายไปท่านสามารถใช้สิทธิอะไรจากประกันสังคมได้บ้าง โดยเราจะเริ่มจากท่านที่ยังไม่เคยสมัครใช้งานสิทธิประกันสังคมกันก่อน
ขั้นตอนสมัครระบบสมาชิกประกันสังคม
เริ่มแรกให้ท่านไปที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือคลิกที่รูปภาพด้านบน
จากนั้นให้ท่านไปกดที่ปุ่มสมัครสมาชิกได้เลย
อ่านรายละเอียดให้เรียบร้อยจากนั้น ติ๊กถูกที่ช่องฉันยอมรับ…. และกดที่ปุ่มถัดไป
กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนและทุกช่องที่ท่านกรอกจะต้องเป็นความจริงเท่านั้น เมื่อท่านกรอกครบแล้วกดที่ปุ่ม ถัดไป
จากนั้นทำการยืนยันตัวตน ผ่านมือถือโดนคลิกที่ปุ่มสีเขียวเพื่อขอรับรหัส OTP จากนั้นนำรหัสไปใส่เมื่อใส่ครบ กดที่ปุ่มยืนยันได้เลย
เมื่อท่านกดที่ปุ่มยืนยันแล้วหากท่านสมัครผ่านจะปรากฏตามรูปภาพด้านบน และท่านสามารถกลับไปแรกเพื่อทำการเข้าสู่ระบบได้เลย
ในหน้านี้ให้ท่านทำการใส่ รหัสผู้ใช้นั้นก็คือเลขบัตรประชาชานของท่านกับรหัสผ่านที่เราเมื่อสมัครเมื่อครู่นี้ จากนั้นกด เข้าสู่ระบบ
เมื่อท่านเข้าสู่ระบบแล้วจะปรากฏตามรูปภาพด้านบนท่านก็สามารถ เช็คสิทธิประกันสังคม ได้แล้ว
สิทธิประกันสังคมต่างๆที่ท่านสามารถตรวจสอบได้
- ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนด้วยตนเอง (e-Self Service)
- ตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล
- ข้อมูลการส่งเงินสมทบ
- ขอเปลี่ยนสถานพยาบาล
- ประวัติการใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน
- การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ
- ประวัติการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
- ตรวจสอบข้อมูลใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์
- แจ้งการประสบอันตราย เนื่องจากการทำงาน e-compensate
- ระบบทันตกรรม
ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนด้วยตนเอง (e-Self Service)
คำสั่งนี้ท่านสามารถดูข้อมูลผู้ประกันตนของตัวท่านเอง ไม่ว่าจะเป็นประวัติการขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ประวัติการชำระเงิน ล่าสุดดูได้แค่ 12 รายการเท่านั้น ประวัติการทำรายการต่างๆของท่าน รวมไปจนถึง ขอรับประโยชน์ทดแทนของกองทุนประกันสังคม ตั้งแต่การฝากครรภ์ และค่าคลอดบุตร
สำหรับสิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตรจะมีเงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 7 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนที่จะคลอด โดยผู้ประกันตนจะได้รับค่าใช้จ่ายตามรายละเอียด ดังนี้
- ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายไม่จำกัดจำนวนครั้ง เบิกได้ 13,000 บาทต่อครั้ง
- ผู้ประกันตนฝ่ายหญิงจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีกในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)
- ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนดเท่านั้น
ตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล
ท่านสามารถดูรายละเอียดสิทธิปัจจุบันที่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนั้นๆได้ โดยท่านสามารถขอเปลี่ยนสถานพยาบาลได้โดยไปที่คำสั่ง ขอเปลี่ยนสถานพยาบาลที่หน้าเมนูข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลการส่งเงินสมทบ
คำสั้งนี้ท่านสามารถเรียกดูเงินสมทบทั้งหมดที่ท่านเคยส่งมาตั้งแต่เริ่มปีแรกที่ท่านได้เริ่มส่งประกันสังคม
ประวัติการใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน
ท่านสามารถเรียกดูประวัติการใช้สิทธิประโยชน์ทดแทนในปีท่านเคยไปใช้สิทธิได้
การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพมาตรา 33/39
กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ โดยมีตัวอย่าง ผู้ประกันตนได้รับค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท คำนวณ ดังนี้
ถูกหักเงินสมทบ 5% ของค่าจ้าง (5 x 10,000) / 100 = 500 บาท
กรณีว่างงาน 0.5% (0.5 x 10,000) / 100 = 50 บาท
กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ 3% (3 x 10,000) / 100 = 300 บาท
ผู้ประกันตนอายุ 2 ปี และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 2 เดือน
*** ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพจะได้รับ 300 x 2 = 600.00 บาท
*** การคำนวณเงินเดือนของผู้ประกันตน ทางสำนักงานประกันสังคมจะทำการคำนวณจากเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
อธิบายเพิ่มเติมสำหรับเงินสมทบชราภาพของประกันสังคมนั้น ผู้ประกันตนจะได้รับก็ต่อเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนของประกันสังคม โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเงินชราภาพ ดังนี้
- อายุครบ 55 ปี สมทบไม่ครบ 180 เดือน (15 ปี) ได้บำเหน็จ
- อายุครบ 55 ปี สมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป (15 ปี) ได้บำนาญ
- ถ้าค่าจ้างเกินกว่าเดือนละ 15,000 บาท สมทบไม่ครบ 180 เดือน (15 ปี) จะได้บำนาญเดือนละ 3,000 บาท หากส่งเกิน 180 เดือน (15 ปี) จะได้เพิ่มปีละ 225 บาท
หมายเหตุ : ข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อมูลที่มีในระบบ ณ ปัจจุบัน ซึ่งอาจจะไม่รวมยอดที่อยู่ระหว่างการบันทึก เงินสมทบค้างชำระหรือข้อขัดข้องอื่นๆ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
สิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตน ม.33 และ ม. 39 ที่ท่านสามารถใช้ได้เพิ่มเติม
เบิกเงินกรณีเจ็บป่วย : สำหรับการขอรับสิทธิกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 3 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนเจ็บป่วย โดยสามารถใช้สิทธิ์การรักษาพยาบาลที่เลือกไว้ตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการรักษาโดยไม่เสียเงินสักบาท รวมไปถึงการบำบัดไต ปลูกถ่ายอวัยวะ ค่าทำฟันประกันสังคม และเงินทดแทนรายได้ขณะเจ็บป่วยเงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 3 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนเจ็บป่วย โดยสามารถใช้สิทธิ์การรักษาพยาบาลที่เลือกไว้ตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการรักษาโดยไม่เสียเงินสักบาท รวมไปถึงการบำบัดไต ปลูกถ่ายอวัยวะ ค่าทำฟันประกันสังคม และเงินทดแทนรายได้ขณะเจ็บป่วย
- ค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายของผู้ทุพพลภาพ ทั้งร่างกาย และจิตใจ เป็นจำนวนไม่เกิน 40,000 บาทต่อราย
- ค่าอวัยวะเทียม + อุปกรณ์
- ค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพรับเงินจำนวน 500 บาทต่อเดือน
เบิกเงินกรณีเสียชีวิต : สำหรับการขอรับสิทธิกรณีเสีย ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 1 เดือนภายใน 6 เดือนก่อนที่จะเสียชีวิต โดยผู้ประกันตนจะได้รับค่าใช้จ่ายตามรายละเอียด ดังนี้
- ค่าทำศพ 4,000 บาท
- เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต
เบิกเงินกรณีเป็นคนว่างงาน : สำหรับการขอรับสิทธิกรณีเป็นคนว่างงาน ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบ 6 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนที่จะว่างงาน โดยเงินคนว่างงาน จะจ่ายให้กับผู้ประกันตนใน 3 กรณี คือ
- หากโดนเลิกจ้าง : ได้เงินคนว่างงาน 50% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน)
- หากลาออกเอง : ได้เงินคนว่างงาน 30% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน)
- หากเกิดเหตุสุดวิสัยเช่นบริษัทปิดตัว : ได้เงินคนว่างงาน 50% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน)
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลที่ทางเรานำมาฝากหวังว่าท่านจะได้รับความรู้จากบทความนี้ นอกจากนี้เรายังมีอีกหลายๆบทความที่จะมาแนะนำให้ท่านอีกมากมายผ่านทางเว็บไซต์ sabuynews.com
บทความแนะนำ