วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

เช็กสิทธิ ลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง?

12 ธ.ค. 2022
345

มาเช็กสิทธิ ลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง? เพื่อที่ท่านจะได้ทำการวางแผนลดหย่อนภาษี 2566 สำหรับท่านที่เป็นมนุษย์เงินเดือนทุกท่านวันนี้เรามาเช็กสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้นในวันนี้เราไปทำความเข้าใจว่าสิทธิลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง

สิทธิลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง?

ลดหย่อนภาษี 2566

เป็นเรื่องที่หลายๆท่านจะต้องทำการจ่ายภาษี เพราะประชาชนคนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปีหรือท่านที่ได้รับเงินเกิน 10,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้นท่านผู้ที่มีเกณฑ์ต้องยื่นภาษีจึงต้องรวบรวมเอกสารจำเป็นให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยสำหรับยุคนี้ท่านอาจไม่จำเป็นจะต้องไปยื่นที่กรมสรรพากรก็ได้เพราะ ท่านสามารถยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ผ่านทางเว็บไซต์หรือในแอปพลิเคชัน efiling.rd.go.th หรือใครสะดวกไปยื่นที่กรมสรรพากรเองก็ได้เช่นกัน

สรุปรายการลดหย่อนภาษี ปี 2565

สำหรับสิทธิลดหย่อนภาษี ปี 2566 มีอะไรบ้าง วันนี้ทาง sabuynews ได้รวบรวมเอาสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีในปี พ.ศ. 2566 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้…

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท สิทธินี้ท่านสามาารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ หรือมีรายได้แต่เลือกคำนวณภาษีพร้อมกัน
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี ทั้งนี้สามีสามารถลดหย่อนภาษีได้กรณีภรรยาไม่มีเงินได้
  • ค่าลดหย่อนบุตร สิทธิลดหย่อนภาษีบุตรคนแรกได้ 30,000 บาท สำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปสามารถลดหย่อนเพิ่มอีก 30,000 บาท แต่จะต้องเป็นบุตรโดยชอบตามกฎหมายสามารถใช้สิทธิ์ได้ไม่จำกัด และบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่เกิน 3 คน โดยนับเฉพาะที่มีชีวิตอยู่ (1.กรณีมีเฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมาย: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรกี่คนก็ได้ตามจำนวนบุตรจริง 2. กรณีมีเฉพาะบุตรบุญธรรม: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท สูงสุด 3 คน 3. กรณีมีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม: ให้ใช้สิทธิบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก่อน และหากบุตรบุญธรรมเป็นคนที่ 4 จะไม่สามารถใช้สิทธิได้ แต่ถ้าบุตรบุญธรรมอยู่ในคนที่ 1-3 สามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมได้
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา สำหรับเลี้ยงดูพ่อแม่ และพ่อแม่คู่สมรสที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ให้คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน โดยสิทธิลดหย่อนบิดามารดาใช้ได้ครั้งเดียว เพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องระบุลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองว่าลูกคนไหนจะเป็นคนเลี้ยงดู
  • ค่าอุปการะคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อคน แต่ผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวคนพิการ พร้อมหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ (ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพลภาพเป็นบิดามารดา – บุตร – คู่สมรสของตนเอง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งสองส่วน ตัวอย่างเช่น คู่สมรสไม่มีรายได้และเป็นผู้พิการ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 120,000 บาท โดยค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท และค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการ 60,000 บาท)

ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

  • ประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันชีวิต สามารถหักได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท กรณีทำประกันสุขภาพพ่วงกับประกันชีวิตจะต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ หักได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส หักได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อปี กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้
  • เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาทจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเอาไปคำนวณภาษี
  • เงินสะสมกองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ให้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินจำนวน 13,200 บาท
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หักภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ RMF จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท

ค่าลดหย่อนอหังสาริมทรัพย์

  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย สิทธิลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ซื้อบ้านหลังแรกปี พ.ศ. 2558 ลดหย่อนได้ 20% ของราคาบ้าน โดยนำไปลดหย่อนภาษีได้ 5 ปี (เฉลี่ยปีละ 4%) แต่ที่อยู่อาศัยนั้นราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท
  • ซื้อบ้านหลังแรกในปี พ.ศ. 2562 ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท แต่ที่อยู่อาศัยนั้นราคาไม่เกิน 5,000,000 บาท

ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค

  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และเงินบริจาคเพื่อประโยชน์สาธารณะ สามารถหักได้สองเท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถหักได้สองเท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคทั่วไป หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน และเงินบริจาค 2 กลุ่มแรกข้างต้น
  • เงินบริจาคให้พรรคการเมือง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

  • สินค้าการศึกษาและกีฬา หักลดหย่อนภาษีไม่เกิน 15,000 บาท
  • สินค้าหนังสือ ไม่เกิน 15,000 บาท
  • สินค้ากลุ่มช้อปช่วยชาติ สินค้า OTOP ไม่เกิน 15,000 บาท
  • ท่องเที่ยวไทย เที่ยวเมืองหลัก ลดหย่อนภาษีได้ 15,000 บาท
  • ท่องเที่ยวไทย เที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษีได้ 20,000 บาท
  • ค่าเสียหายจากพายุปาบึก ค่าซ่อมบ้านไม่เกิน 100,000 บาท และค่าซ่อมรถไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าเสียหายจากพายุโพดุล พายุคาจิกิ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ค่าซ่อมบ้านไม่เกิน 100,000 บาท และค่าซ่อมรถอื่นๆ ไม่เกิน 30,000 บาท

เอกสารยื่นภาษีที่ต้องเตรียมและต้องใช้

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ 2 แบบ คือ ภ.ง.ด.90 กรณีสำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน และ ภ.ง.ด.91 กรณีผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) – สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับใบ 50 ทวิ
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี

ช่องทางการยื่นภาษี

  1. ท่านสามารถเดินทางไปยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
  2. ท่านสามรถยื่นภาษีออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th
  3. ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax โดยการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรเป็นอันดับแรก จึงจะสามารถยื่นผ่านแอปพลิเคชันได้

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลที่ทางเรานำมาฝากหวังว่าท่านจะได้รับความรู้จากบทความนี้ นอกจากนี้เรายังมีอีกหลายๆบทความที่จะมาแนะนำให้ท่านอีกมากมายผ่านทางเว็บไซต์ sabuynews.com

บทความแนะนำ

อ้างอิงข้อมูลจาก prosoftwinspeed

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า