วันศุกร์, 22 พฤศจิกายน 2567

เช็คราคา ค่าทางด่วน ฉลองรัช-บูรพาวิถี ปรับขึ้นเท่าไร

04 มี.ค. 2024
91

ขึ้นค่าทางด่วน ฉลองรัช-บูรพาวิถี 5-25 บาท เริ่ม 1 มีนาคมนี้ ทั้งทางพิเศษฉลองรัช และทางพิเศษบูรพาวิถี ปรับขึ้นค่าผ่านทาง 5-25 บาท ตามประเภทรถและระยะทาง

เช็คราคา ค่าทางด่วน ฉลองรัช-บูรพาวิถี ปรับขึ้นเท่าไร

เช็คราคา ค่าทางด่วน

ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป เตรียมพบกับการปรับขึ้นค่าทางด่วน 2 สาย ได้แก่ ทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) และทางพิเศษบูรพาวิถี (บางนา-บางปะกง) ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 ปี เงินที่ได้จากการปรับขึ้นค่าทางด่วนครั้งนี้ จะนำไปใช้ในการพัฒนาและบำรุงรักษาทางพิเศษ เพื่อให้ผู้ใช้ทางได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย สำหรับรายละเอียดมีดังนี้

ราคาค่าทางด่วน ปรับใหม่

ทางพิเศษฉลองรัช:(รามอินทรา-อาจณรงค์) ปรับขึ้น 5 บาท

  • รถ 4 ล้อ: เพิ่มขึ้น 5 บาท จาก 40 บาท เป็น 45 บาท
  • รถ 6-10 ล้อ: เพิ่มขึ้น 5 บาท จาก 60 บาท เป็น 65 บาท
  • รถมากกว่า 10 ล้อ: เพิ่มขึ้น 10 บาท จาก 80 บาท เป็น 90 บาท

ยกเว้น ด่านรามอินทรา 1 และด่านสุขาภิบาล 5-2

  • รถ 4 ล้อ: คงเดิม 20 บาท
  • รถ 6-10 ล้อ: เพิ่มขึ้น 5 บาท จาก 30 บาท เป็น 35 บาท
  • รถมากกว่า 10 ล้อ: เพิ่มขึ้น 5 บาท จาก 40 บาท เป็น 45 บาท

ทางพิเศษบูรพาวิถี (บางนา-บางปะกง) ปรับขึ้น 5-25 บาท ตามประเภทรถและระยะทาง

  • รถ 4 ล้อ: เพิ่มขึ้น 5-10 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง
  • รถ 6-10 ล้อ: เพิ่มขึ้น 5-20 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง
  • รถมากกว่า 10 ล้อ: เพิ่มขึ้น 5-25 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง

กรณีลงจากทางพิเศษบูรพาวิถี ที่ด่านบางนา กม. 6 (ขาเข้า)

  • ช่องทางที่ 4-14: ชำระค่าผ่านทางเพิ่มเติม
  • รถ 4 ล้อ: +40 บาท
  • รถ 6-10 ล้อ: +60 บาท
  • รถมากกว่า 10 ล้อ: +80 บาท

ตัวเลขผู้ใช้และรายได้ทางด่วน 2 สาย ฉลองรัช-บูรพาวิถี ปี 2566

เช็คราคา ค่าทางด่วน

ปริมาณการจราจรบนทางพิเศษฉลองรัชและบูรพาวิถีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากจำนวนผู้ใช้เฉลี่ยต่อวันในปี 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งทางพิเศษฉลองรัชมีผู้ใช้เฉลี่ย 213,054 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มี 210,718 คัน และทางพิเศษบูรพาวิถีมีผู้ใช้เฉลี่ย 143,309 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มี 136,550 คัน รายได้จากค่าทางด่วนก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ในปี 2566 ทางพิเศษทั้งสองสายมีรายได้รวม 1,977 ล้านบาท แบ่งเป็น ทางพิเศษฉลองรัช 1,148 ล้านบาท และทางพิเศษบูรพาวิถี 829 ล้านบาท รายได้จากค่าทางด่วนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน 45% เข้ากองทุน ไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ ฟันด์ และ 55% เข้ากระเป๋าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยสัญญาระบุไว้ว่า ระยะเวลาของสัญญารวม 30 ปี ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ทางพิเศษฉลองรัชและบูรพาวิถี มีความสำคัญต่อระบบการขนส่งของประเทศไทย

ทำไมต้อปรับขึ้นค่าทางด่วน

สาเหตุหลักของการปรับขึ้นค่าทางด่วน เพราะเป็นไปตามสัญญาของกองทุนไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ ฟันด์ (TFFIF) ที่กำหนดให้มีการปรับค่าผ่านทางทุก 5 ปี การปรับขึ้นครั้งนี้ คำนวณจากดัชนีผู้บริโภค (CPI) ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 10% สำหรับขั้นตอนปกติของการปรับขึ้นค่าทางด่วน เริ่มพิจารณาปรับอัตราค่าผ่านทางวันที่ 1 มีนาคม การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 1 กันยายนแต่ปีนี้มีการเลื่อนปรับขึ้นค่าทางด่วน ด้าน กทพ.เลื่อนการปรับขึ้นค่าทางด่วนจากวันที่ 1 กันยายน 2566 เป็นวันที่ 1 มีนาคม 2567 สาเหตุของการเลื่อนเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ผลกระทบจากการเลื่อน กทพ. สูญเสียรายได้ประมาณ 400 ล้านบาท ส่วนเงินที่ได้จากการปรับขึ้นค่าทางด่วน จะนำไปใช้ในการพัฒนาและบำรุงรักษาทางพิเศษ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า